ข้อมูลการประเมิน โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น

ของ

โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 (มูลนิธิไต้ล้ง – เช็ง  พรประภา)

                       การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                                        เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต
                       แก่พสกนิกรชาวไทยมา โดยตลอด  นานว่า  30  ปี เศรษฐกิจพอเพียง   เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่
                       ระดับครอบครัว  ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐบาล   ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้
                       ก้าวทัน ต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์    ความพอเพียง   ความพอประมาณ   ความมีเหตุมีผล   รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร
                       ต่อการ มีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ  ความระมัดระวัง  และคุณธรรม       
                       ควบคู่ไปกับการกระทำที่ไม่เบียดเบียนกัน    การแบ่งปัน     ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน       ความร่วมมือปรองดองกันในสังคม     จะสร้างสายใยเชื่อมโยงคนใน
                       ภาคส่วนต่างๆ   ของสังคมเข้าด้วยกัน  สร้างสรรค์พลังในทางบวก  นำไปสู่ความสามัคคี  การพัฒนาที่สมดุลยั่งยืนและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
                        อย่าง รวดเร็วภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์   ทั้งด้าน  วัตถุ   สังคมสิ่งแวดล้อม   และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
                                        โรงเรียนเป็นสถานที่ในการผลิต พลเมืองที่มีคุณภาพ ของชาติ เป็นแหล่งการเรียนรู้  พัฒนาทางด้านสติปัญญา  ทางด้านร่างกาย  ทางด้านอารมณ์
                        และทางด้านสังคม    ในสังคมปัจจุบันมีความเจริญ  และพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอย่างมากมาย   แต่การพัฒนาด้านจิตใจ  คุณธรรมและจริยธรรมยังมีน้อย
                        ดังนั้น โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง  ๒  (มูลนิธิไต้ล้ง-เช็ง พรประภา)    จึงได้จัดทำโครงการ    Smart Herb 4.0   ในสถานศึกษาขึ้น เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึง
                        การดำเนินชีวิตให้อยู่อย่างพอประมาณ เดินทางสายกลาง มีความพอดีและพอเพียงกับตนเองและครอบครัว โรงเรียน ชุมชน โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอก        
                        อาศัยปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินชีวิต ที่ประชาชนโดยทั่วไปถือปฏิบัติ    มีการส่งเสริมให้ใช้พื้นที่ว่างเปล่าทั้ง  ในโรงเรียนและทางบ้านของนักเรียนปลูกพืช
                        ผักประเภทสวนครัวและพืชสมุนไพร      ซึ่งสมุนไพรมีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยของผู้คนมาแต่โบราณ     เป็นเครื่องมือในการรักษาสุขภาพของคน
                       และปัจจุบัน  การใช้สมุนไพรเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาทดแทนการใช้สารเคมี   เพื่อให้ปลอดภัยจากสารพิษ  และยังเป็นการ   ช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟู
                       สมุนไพรไทย ให้คงอยู่ตลอดไป รวมทั้งเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีคุณค่า สร้างความรัก สามัคคี พัฒนาความผูกพันในองค์กร ระหว่างครู บุคลากร
                       และนักเรียน ตลอดจนเป็นการปลูกฝังนิสัยการประหยัด อดออม นักเรียนสามารถเรียนรู้ในโรงเรียนได้อย่างมีความสุข

                        รายละเอียดการจัดกิจกรรมแต่ละสายชั้น

                                        1.นักเรียนระดับชั้นอนุบาล จะได้รับมอบหมายให้ดูแลการปลูกพืชผักสวนครัว โดยให้นักเรียนในสายชั้นนำมาปลูกในโรงเรียน (สายชั้นละ 1 ชนิด ) 
                                            นักเรียนในแต่ละสายชั้นจะรับผิดชอบปลูกร่วมกับครูประจำชั้น  ตั้งแต่เริ่มปลูก วางแผนในการบำรุงรักษา  การบันทึกการเจริญเติบโต
                                        2.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6  จะเลือกปลูกพืชสมุนไพรห้องละ  1  ชนิด  โดยเลือกปลูกให้มีจำนวนเหมาะสมกับพื้นที่  ตามที่โรงเรียนกำหนดให้

                                                                         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ปลูกใบเตย
                                                                         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  ปลูกว่านหางจระเข้
                                                                         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ปลูกตะไคร้หอม
                                                                         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ปลูกอัญชัน
                                                                         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ปลูกมะกรูด
                                                                         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ปลูกใบย่านาง

                        การดำเนินการ/วิธีการดำเนินงาน

                        1.  มีนโยบายน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนภายในสถานศึกษา  โดย ดำเนินการตามนโยบายและบูรณาการในแผนปฏิบัติงาน
                             ประจำปี นำผลการติดตามมาพัฒนา นโยบาย/แผนงาน/โครงงาน/กิจกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาโดย
                             ให้ความสำคัญกับความเป็นท้องถิ่น ความเป็นไทยและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนมาสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ บริหารจัดการอาคารสถานที่
                             และแหล่งการเรียนรู้ในสถานที่เกี่ยวข้องกับความเป็นท้องถิ่นของตนเอง อันได้แก่ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาหรือทรัพยากรของท้องถิ่น
                             ประสานสัมพันธ์กับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของผู้เรียน
                        2. มีการนิเทศ/ติดตาม/ประเมิน 
                             การนำหน่วยการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของ
                             เศรษฐกิจพอเพียงและให้ความสำคัญความเป็นท้องถิ่นและความเป็นไทย รวมทั้งการพัฒนาชุมชนมาเป็นฐานในการจัดการเรียนการสอน อย่างน้อย
                             1 เรื่อง จัดทำสื่อ/พัฒนา/เผยแพร่ แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและจัดทำเครื่องมือวัดผล
                             และประเมินผลที่หลากหลาย และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้
                        3. จัดกิจกรรมแนะแนวให้ผู้เรียนได้รู้จักการวางแผนชีวิตของตนเองได้อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                        4. จัดกิจกรรมลูกเสือ / เนตรนารี จัดตั้งชุมนุม ชมรมต่าง ๆ โดยให้ความสำคัญกับความเป็นท้องถิ่น ความเป็นไทย และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
                            ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                        5. มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสา และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                        6. มีแผนงาน/โครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และตระหนักในคุณค่าของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                            มีการประชุม/อบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติ
                            ภารกิจหน้าที่  ส่งเสริมให้บุคลากรแสวงหาความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสม่ำเสมอ
                        7. นำผลการติดตามมาปรับปรุง/พัฒนาการดำเนินโครงการ/กิจกรรมพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามหลัก
                            ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                        8. บุคลากรของสถานศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  
                        9. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามมาตรฐานการเรียนรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละระดับชั้นปีการศึกษา